วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2560

บทที่ 10 เรื่อง การเตียมตัวก่อนการนำเสนอ

โปรเเกรมมัลติมีเดียเพื่อนำเสนอ บทที่ 10 เรื่อง การเตียมตัวก่อนการนำเสนอ


การเตรียมการนำเสนอ
การนำเสนอเรื่องในลักษณะใดก็ตามถ้าไม่มีการเตรียมพร้อมอาจก่อให้เกิดความผิดพลาดได้ง่ายหรือไม่เป็นไปดังที่ตั้งจุดหมายไว้ ฉะนั้นถ้าต้องการให้การนำเสนอข้อมูลเป็นไปด้วยความราบรื่นและบรรลุจุดมุ่งหมายตามที่ต้องการ ผู้นำเสนอควรจะต้องเตรียมการให้พร้อมก่อนที่จะนำเสนอทุกครั้ง การเตรียมการเพื่อนำเสนอข้อมูลมีขั้นตอนดังนี้
1.การศึกษาข้อมูล
ผู้ที่นะนำเสนอจะต้องศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ดั้งนี้
1.1ศึกษาเรื่องที่จะนำเสนอเพื่อรวบรวมแกละจัดหมวดหมู่ข้อมูลที่จะ นำเสนอให้ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด
1.2ศึกษาวิเคราะห์ผู้รับการนำเสนอหรือผู้ฟัง เพื่อที่จะได้วางแผนการใช้เทคนิคและวิธีการนำเสนอ
1.3ศึกษาวิเคราะห์นำเสนอ ตลอดจนการใช้ถ้อยคำภาษาที่เหมาะสม
1.3ศึกษาวิเคราะห์จุดมุ่งหมายที่จะนำไปเสนอเพื่อให้สอดคล้องสัมพันธ์กับผู้รับการนำเสนอ
1.4ศึกษาโอกาสเวลาและสถานที่ที่จะนำเสนอเพื่อจะได้กำหนดเค้าโครงและเนื้อหาพร้อมทั้งจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำเสนอ
2.การวางแผนการนำเสนอจะช่วยให้การนำเสนอเป็นไปตามลำดับข้อมูลไม่สับสนครบถ้วนสมบูรณ์เหมาะสมกับเวลาการนำเสนอที่บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ควรมีการวางแผนที่จะนำเสนอดังนี้
2.1รูปแบบวิธีการนำเสนอโดยมีหลักในการวางรูปแบบวิธีการนำเสนอแบ่งกว้างๆได้เป็น 2 แบบคือ
1.การนำเสนอแบบที่เป็นทางการเช่นการนำเสนอแบบรูปแบบปาฐกถาการอภิปรายการบรรยายพิเศษต่าง ๆ
2.การนำเสนอแบบที่ไม่เป็นทางการ
2.2วางแนวทางในการแก้ปัญหาและอุปสรรคปัญหาและอุปสรรคในการนำเสนออาจจะเกิดขึ้นได้ในหลายหลายกรณีถ้าเราคาดเดาปัญหาไว้ก่อนล่วงหน้าโดยการศึกษาข้อมูลก่อนที่จะนำเสนอให้ถ่องแท้ก็สามารถช่วยให้มองแนวทางในการแก้ปัญหา
2.3วางเค้าโครงการนำเสนอ ทำได้โดยการนำหัวข้อที่จะนำเสนอมาแบ่งหมวดหมู่เรียงตามลำดับ แล้วเขียนเป็นลำดับขั้นคอนของแผนการนำเสนอ
2.4วางแนวทางในการนำเสนอ เป็นการกำหนดแนวทางที่จะใช้ในการนำเสนอจัดทำหลังจากที่ได้วางเค้าโครงแล้ว การวาง แนวทางในการเสนอจะช่วยให้ผู้นำเสนอเกิดความพร้อม ดังนี้
1.กำหนดวิธีการนำเสนอ
2.กำหนดสถานที่ที่พร้อมและเหมาะสมในการนำเสนอ
3.กำหนดวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ประกอบการนำเสนอ
4.กำหนดบุคคลผู้เกี่ยวข้อง
5. กำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมในการนำเสนอ
2.5 วางกำหนดขั้นตอนการนำเสนอ เมื่อได้วางแนวทางการนำเสนอขันต่างๆมาแล้ว ขั้นสุดท้ายก็จะต้องกำหนดขั้นตอนการนำเสนอให้สัมพันธ์กับวิธีการ
3. การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ การบรรยายเพียงอย่างเดียวไม่อาจดึงดูดความสนใจของผู้ฟังได้ตลอดเวลา ฉะนั้นจึงต้องใช้วัสดุหรือเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เรียกว่าโสตทัศนูปกรณ์ เข้ามาใช้ประกอบเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความสนใจแต่ที่นิยมใช้กันมีดังนี้
3.1อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการบรรยาย
1.เครื่องฉายแผ่นใส หรือเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
2.วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง แผ่นใส
3.แบบจำลอง
3.2อุปกรณ์ที่ใช้เสริมการบรรยาย
1.แผ่นพับ 2.หนังสือ 3.รูปภาพ 4.เอกสารประกอบ
4. การจัดเตรียมความพร้อมของสถานที่ ในการนำเสนอนอกจากจะต้องตระเตรียมวัสดุอุปกรณ์เพื่อนำมาประกอบการนำเสนอแล้ว การเตรียมความพร้อมของสถานที่ก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้การนำเสนอเป็นไปได้ด้วยดี
4.1 การจัดห้องสำหรับการนำเสนอ ควรเลือกให้เหมาะสมกับจำนวนผู้ฟังเช่น ห้องประชุมขนาดเล็ก ห้องประชุมขนาดใหญ่
4.2 การจัดที่นั่งและแท่นสำหรับการนำเสนอ จะต้องเตรียมให้พร้อม
1. แท่นสำหรับบรรยายใช้ในกรณีที่ยืนพูด
2. โต๊ะสำหรับบรรยายใช้กรณีที่นั่งพูด
3. โต๊ะวางอุปกรณ์ช่วยประกอบการบรรยาย
4.3 ระบบระบายอากาศ จะต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี
4.4 ระบบเสียง ควรมีการทดสอบก่อนการใช้งาน เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถใช้งานได้ดี มีความดังชัดเจน
4.5 ระบบแสดงสว่างภายในห้อง จะต้องให้เหมาะสมกับสายตาของผู้ฟัง พอเหมาะกับการใช้งาน
4.6 การประดับตกแต่งสถานที่ การใช้สิ่งประดับตกแต่งห้องหรือบริเวณที่จะใช้ในการนำเสนอทั้งสิ้น สิ่งที่นำมาตกแต่ง

บทที่ 9 เรื่อง การใส่ลูกเล่นในการนำเสนอ

โปรเเกรมมัลติมีเดียเพื่อนำเสนอ บทที่ 9 เรื่อง การใส่ลูกเล่นในการนำเสนอ

ชนิดของลูกเล่นที่ควรทราบ

          สำหรับ PowerPoint 2010 สามารถสร้างลูกเล่นหรือเทคนิคในการนำเสนอได้ 2 แบบ ดังนี้
-แบบที่   Animation 
Animation  (อ่านว่า แอนิเมชั่น ) เป็นลูกเล่นให้กับข้อความ รูปภาพ หรือสิ่งต่างๆที่อยู่บนสไลด์ ตัวอย่างเช่น เมื่อเราเปิดสไลด์ขึ้นมา เราอาจจะเห็นข้อความวิ่งปรากฏมาจากด้านซ้ายของสไลด์ หรือวิ่งมาทีละตัวจากด้านขาว หรือ หล่นลงมาจากด้านบน
-แบบที่  2  Transition
Transition (อ่านว่า ทรานซิสชั่น ) เป็นลูกเล่นที่ถูกแสดงในการเปลี่ยนแผ่นสไลด์  ตัวอย่างเช่น เมื่อสไลด์ที่แล้วหายไป  สไลด์แผ่นต่อไปจะปรากฏขึ้นมาโดยวิ่งแบบรวดเร็วจากทางด้านซ้าย  หรือค่อยๆ ปรากฏเป็นภาพสลัวๆ แล้วค่อยๆ ชัดขึ้น หรือภาพตารางหมากรุกก่อนจึงเห็นสไลด์ทั้งหมด

ใส่ ANIMATION แบบสำเร็จลงในข้อความ

          เพื่อความรวดเร็วในการกำหนดลูกเล่นให้กับข้อความ PowerPoint จึงได้เตรียมลูกเล่นสำเร็จรูปมาให้ 3แบบ คือ การค่อยๆปรากฏในสไลด์ (Fade),คลี่ (Wipe) และลอยเข้า (Fly in ) ผู้ใช้สามารถเลือกใช้งานได้ทันทีดังตัวอย่างต่อไปนี้

คำสั่งภายใน ANIMATION

          ภายใน Animation จะประกอบด้วยคำสั่งสำหรับกำหนดและแก้ไข Animation ซึ่งถ้าผู้อ่านท่านใดเคยใช้  PowerPoint เวอร์ชันก่อนหน้านี้ จะเห็นได้ว่า PowerPoint 2010 มีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งจากเดิมอยู่พอสมควร


แสดงลูกเล่นตามที่กำหนดไว้
เลือกลูกเล่นจากรายการที่เตรียมไว้
ปรับแต่งลูกเล่น
ใส่ลูกเล่นเพิ่มเติม
กำหนดปุ่มเพื่อเรียกใช้งานลูกเล่น
แสดงหน้าต่างเพื่อปรับแต่งลูกเล่น
ก็อปปี้ลูกเล่นไปใช้งาน
H  กำหนดเวลาหน่วงก่อนแสดงลูกเล่น
I  เลือกว่าจะเริ่มเล่นลูกเล่นเมื่อใด เช่นคลิกเมาส์
กำหนดเวลาในการแสดงลูกเล่น
จัดเรียงลำดับลูกเล่น

กำหนด ANIMATION ให้กับรูปภาพ

          การกำหนดลูกเล่นให้กับภาพมีลักษณะเดียวกับข้อความ  สามารถกำหนดลูกเล่นขณะรูปเข้ามาในสไลด์  ขณะอยู่ในสไลด์ และขณะที่ออกจากสไลด์  โดยสามารถกำหนดเสียงขณะแสดงลูกเล่นดังตัวอย่างต่อไปนี้



กำหนดเส้นทาง ANIMATION ใน สไลด์

โดยปกติการกำหนดลูกเล่นให้กับข้อความหรือรูปภาพ การวิ่งเข้ามาในสไลด์จะเป็นเส้นตรง คืออาจจะวิ่งมาทางซ้าย และทางขวา ด้านบน หรือด้านล่าง หากผู้อ่านต้องการให้รูปภาพวิ่งวนไปวนมา หรือวิ่งเป็นวงกลม เราต้องกำหนดเส้นทางการวิ่งเสียก่อน



จัดคิวในการนำเสนอ

          การกำหนดลูกเล่นในสไลด์จะมีลำดับการแสดงที่แน่นอน เราจะเห็นตัวเลข1,2,3, แสดง ลำดับว่าวัตถุใดจะปรากฏสไลด์เป็นลำดับแรก ลูกเล่นไหนจะเป็นอันดับต่อไป


ก็อปปี้รูปแบบ ANIMATION

          คุณสมบัติใหม่ประการหนึ่งที่สามารถพบใน PowerPoint 2010  คือสามารถก็อปปี้รูปแบบAnimation จากวัตถุหนึ่งไปยังวัตถุหนึ่งไปยังวัตถุอื่นๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้องกำหนด   Animation  ในแบบเดิมๆให้เสียเวลาเลย

บทที่8 กราฟและแผนผัง

 กราฟ และแผนผัง

ในบทนี้จะกล่าวถึงการนำเสนอข้อมูลลงในสไลด์ด้วยกราฟแผนผัง  เพื่อทำให้งานพรีเซนเตชั่นดูเข้าใจง่ายและน่าสนใจมากขึ้น
7.1  การสร้างกราฟลงในสไลด์
                เนื่องจากไม่สามารถสร้างกราฟได้จากโปรแกรม  PowerPoint  โดยตรง  แต่จะต้องเรียกใช้โปรแกรม  Microsoft  Graph  ซึ่งเป็นโปรแกรมย่อยสำหรับทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ
ในบทนี้จะกล่าวถึงการนำเสนอข้อมูลลงในสไลด์ด้วยกราฟแผนผัง  เพื่อทำให้งานพรีเซนเตชั่นดูเข้าใจง่ายและน่าสนใจมากขึ้น
1.       Click  mouse  เลือกไอคอน  มุมมอง  เพื่อเปลี่ยนให้อยู่ในมุมมอง  Normal  View
2.       Click  mouse  เลือก  ไอคอน  กราฟ หรือคำสั่ง  Insert>Chart  (แทรก>แผนผัง)
3.       ใส่ข้อมูลต่างๆ  ในตาราง  เช่น  ชื่อแถว  ชื่อคอลัมน์  ตัวเลข  เป็นต้น
4.       Click  mouse  ส่วนใดๆ  ของสไลด์นอกบริเวณกราฟ
1.  ส่วนประกอบต่างๆ  ของกราฟ
                ส่วนประกอบต่างๆ  ของกราฟจะช่วยให้อ่านข้อมูลได้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น  ดังนี้
2.  การกรอกและแก้ไขข้อมูลใน  Datasheet
                การจัดทำข้อมูลที่เป็นกราฟสถิติต่างๆ  นั้นจะต้องปรับปรุงแก้ไขให้แสดงข้อมูลที่ใหม่เสมอ ซึ่งมีขั้นตอนต่างๆ  ดังนี้
1.       เลื่อนลูกศรไปที่กราฟแล้ว  Double  Click  จะเกิดกรอบล้อมรอบกราฟและเข้าโปรแกรม  Microsoft  Graph  โดยอัตโนมัติ
2.       แก้ไขข้อมูลในตาราง  Datasheet  ซึ่งจะเกิดผลโดยตรงต่อกราฟด้วย  ซึ่งการกรอกข้อมูลคล้ายกับการป้อนข้อมูลในโปรแกรม  Excel
3.       Click  mouse  ส่วนใดๆ  ของสไลด์นอกเหนือบริเวณกราฟ
3.  การ  Import  File  ลงในตารางข้อมูล
                การ  Import  File  ลงในตารางข้อมูล  คือ  การดึงเอาไฟล์ในโปรแกรมอื่นที่มีลักษณะการจัดทำตารางข้อมูลเช่นเดียวกันมาใส่ในตารางข้อมูล  Microsoft  Graph  ตัวอย่างเช่น  การ  Import  File จาก  Microsoft  Excel  วิธี  Import  File   มีขั้นตอนดังนี้
1.       เลื่อนลูกศรไปที่กราฟแล้ว  Double  Click  จะเกิดกรอบล้อมรอบกราฟ  และเข้าโปรอกรม  Microsoft  Graph  โดยอัตโนมัติ
2.       เลือกคำสั่ง  Edit> Import  File …(แก้ไข>นำเข้าแฟ้ม)  จะปรากฏหน้าต่าง  Import  File ซึ่งมีไว้สำหรับเลือกไฟล์ที่จะลงใส่ลงใน  Datasheet  ของ  Microsoft  Graph
3.       เลือกไฟล์ที่ต้องการ
4.       Click  mouse  ปุ่ม  Open  จะปรากฏหน้าต่าง  Import  Data  Options
5.       Click  mouse  เลือก  Sheet  ที่เก็บข้อมูล
6.       กำหนดให้เขียนทับ  Datasheet  เดิม  หากเลือกที่  Overwrite  existing  cells  ซึ่งเป็นการ Import  File    สามารถเลือกได้ว่าจะนำมาทั้ง  Sheet  โดย  Click  เลือก  Entire  Sheet หากต้องการนำบางส่วนให้  Click  เลือก  Range
7.       Click  mouse  ปุ่ม  OK  ข้อมูลที่ดึงเข้ามาจะถูกใส่ใน  Datasheet  เรียบร้อย
8.       ข้อมูลในตารางจะเป็นจ้อมูลเดียวกันกับไฟล์  Excel
9.       กราฟจะแสดงข้อมูลจาก  Datasheet  ที่เลือกจากไฟล์  Excel
4.  การเปลี่ยนชนิดของกราฟ
                เราสามารถเปลี่ยนชนิดของกราฟที่แสดงได้ใน  Microsoft  Graph  โดยมีให้เราเลือกได้หลายแบบ
1.       เลื่อนลูกศรไป  Double  click  ที่กราฟ  จะเกิดกรอบล้อมรอบกราฟและเข้าโปรแกรม Microsoft  Graph  โดยให้อัตโนมัติ
2.       เลือกคำสั่ง  Chart>Chart  Type…  (แผนภูมิ>ชนิดแผนภูมิ)
3.       Click  mouse  ที่แท็บ  Standard  Types  เพื่อเลือกรูปแบบสไตล์กราฟมาตรฐาน
4.       Click  mouse  เลือกประเภทของสไตล์กราฟ  จะปรากฏรูปแบบกราฟในสไตล์ให้เลือก
5.       Click  mouse  เลือกสไตล์กราฟ
6.       Click  mouse  ปุ่ม  Press and Hold to View Sample  ค้างไว้  เพื่อดูภาพตัวอย่าง
7.       Click  mouse  ปุ่ม  OK
8.       หลังจากนั้นจะปรากฏรูปภาพตามแบบที่เลือกไว้
5.  การเพิ่มชื่อเรื่อง/ชื่อแกนให้กราฟ
1.       Double  click  รูปกราฟที่ต้องการเพิ่มชื่อเรื่องและชื่อแกน
2.       ใช้คำสั่ง  Chart>Chart  Options
3.       Click  เลือกแท็บ  Title  พิมพ์ข้อความลงในช่อง
Chart  Title                                :               ชื่อเรื่อง
Category  X  axis     :               ประเภทข้อมูลในแกน  X
Value  z                        :               จำนวนข้อมูล
4.       Click  mouse  ปุ่ม  OK
7.2  การตกแต่งกราฟ
                เราสามารถทำให้กราฟที่สร้างนั้น  ดูเข้าใจง่ายและสวยได้โดยการเสริม  เพิ่ม  เติม  แต่ง ลักษณะ  และสีสันต่างๆ  ได้ดังนี้
1.  การใส่เส้นกำหนด  และคำอธิบายกราฟ
                การใส่เส้นกำหนดและคำอธิบายกราฟนั้นจะช่วยให้เราอ่านข้อมูลได้เข้าใจดีขึ้น  และเราสามารถทำการเส้นกำหนด  และคำอธิบายกราฟได้ดังนี้
1.       เลื่อนลูกศรไป  Double  click  ที่กราฟ  จะเกิดกรอบล้อมรอบกราฟและเข้าโปรแกรม Microsoft  Graph  ให้โดยอัตโนมัติ
2.       Click  mouse
-          สำหรับใส่เส้นเพื่อช่วยในการดูประเภทข้อมูล
-          สำหรับใส่เส้นช่วยในการอ่านค่าข้อมูล
-          สำหรับแสดง/ไม่แสดงคำอธิบายกราฟ  (Legend)
2.  การเพิ่มสีสันให้กับกราฟ
                สำหรับกราฟที่มีข้อมูลและตัวแปรจำนวนที่มากขึ้นนั้น  จะนำให้การอ่านข้อมูลดูแล้วเข้าใจยาก  แต่เราสามารถตกแต่งในแต่ส่วนของกราฟได้  เช่น  ขนาดของเส้นกราฟ  สีของแท่งกราฟ กำหนด  Label  เป็นต้น  ซึ่งช่วยให้การอ่านและความเข้าใจในข้อมูลนั้นง่ายขึ้น  โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.       เลือกกราฟโดย  Double  click  ที่กราฟ  ซึ่งจะเป็นการเข้าโปรแกรม  Microsoft  Graph
2.       เลื่อนลูกศรไปยังตำแหน่งของกราฟที่จะแก้ไข  เช่น  แท่งกราฟแท่งใดแท่งหนึ่งแล้ว Double  click
3.       แก้ไขรูปแบบของกราฟใน  Format  Data  Series  ไดอะล็อกซ์  เช่น  สี,  เส้นขอบ
4.       Click  mouse  ปุ่ม  OK
5.       ผลลัพธืสีของแท่งกราฟจะเปลี่ยนเป็นสีที่ได้แก้ไขใหม่
7.3  แผนผังองค์กร
                เป็นแผนผังแสดงชื่อและตำแหน่งของพนักงานภายในองค์กร  รวมทั้งสายการบบังคับบัญชา  ซึ่งเราสร้างโดยใช้โปรแกรม  Microsoft  Organization  Chart  ซึ่งเป็นโปรแกรมย่อยสำหรับสร้างผังองค์กรโดยเฉพาะ
1.       เพิ่มสไลด์แผ่นใหม่โดย  Click  mouse  ปุ่ม  New Slide  หรือเลือกคำสั่ง  Insret>New Slide  (แทรก>สร้างภาพนิ่ง)
2.       เลือก  Auto layout  ที่เป็นผังองค์กรในหน้าต่างงาน  Slide  Layout
3.       เลื่อนลูกศรไปในบริเวณผังองค์กรแล้ว  Double  click
4.       ปรากฏหน้าจอ  Diagram  Gallery  ให้  Click  mouse  เลือกการสร้างผังองค์กร
5.       Click  mouse  ปุ่ม  OK
6.       กรอกข้อมูลในผังองค์กร  เช่น  ชื่อ  ตำแหน่ง  เป็นต้น  โดยเลื่อนตัวชี้เมาส์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการแล้ว  Click  mouse  เลือกตำแหน่งกรอกข้อมูล  ชื่อ  และตำแหน่ง
7.       Click  mouse  ในบริเวณที่ว่างด้านนอกเพื่อออกจากหน้าจอการสร้างผังองค์กร  จากนั้นจะได้ผังองค์กรที่เราต้องการ
1.  การสร้างและแก้ไขแผนผังองค์กร
                เครื่องมือที่ใช้ในการเพิ่มและแก้ไขตำแหน่งต่างๆ  ในผังองค์กรที่มี Microsoft Organization  Chart  มีดังนี้
2.  การเพิ่มตำแหน่งในแผนผังองค์กร
                ในปกติโปแกรม  Microsoft  Organization  Chart    จะเริ่มต้นสร้างผังองค์กรที่ประกอบด้วยบุคลากรจำนวน  4  ตำแหน่ง  และเราสามารถเพิ่มตำแหน่งบุคลากรลงในผังองค์กรได้  ดังนี้
1.       เลื่อนลูกศรไปที่ผังองค์กรแล้ว  Click  mouse  ตรงตำแหน่งที่จะเพิ่มผู้ช่วย  และจะปรากฏเครื่องมือ  Organization  Chart 
2.       Click  mouse  เลือก  Assistant  สำหรับเพิ่มผู้ช่วย
3.       Click  mouse  ตรงตำแหน่งที่เพิ่มผู้ช่วย  เพื่อกรอกข้อมูล  ได้แก่  ชื่อ  และตำแหน่ง
4.       ได้ผลลัพธ์ของการเพิ่มตำแหน่งในผังองค์กรตามต้องการ
3.  การปรับเปลี่ยนย้าย
                ถ้ามีการปรับเปลี่ยนโยกย้ายตำแหน่ง  เราก็สามารถแก้ไขผังองค์กรได้อย่างง่ายๆ  โดยไม่ต้องพิมพ์ใหม่  เพียงให้เรา  Click  mouse  กรอบตำแหน่งที่ต้องการย้าย  และ  Drag  mouse  มายังตำแหน่งใหม่แล้วปล่อยเมาส์
4. การเปลี่ยนสไตล์แผนผังองค์กร
                การวางโครงสร้างทีมงานที่จะทำงานนั้น  เราจะต้องวางให้เหมาะสมกับงานและจำนวนคน ซึ่งเราสามารถที่จะวางโครงสร้างที่เป็นผังองค์การให้เหมาะสมด้วยสไตล์แบบต่างๆ  ดังนี้
1.       เลื่อนลูกศรไปที่ผังองค์กรแล้ว Cllick  mouse  จะเกิดกรอบล้อมรอบผังองค์กรและจะปรากฏเครื่องมือ  Organization  Chart
2.       Cllick  mouse  เลือกสไตล์ขององค์กรตามต้องการ
3.       ผังองค์กรจะจัดเป็นรูปแบบใหม่
สรุปท้ายบท
                ในบทนี้ทำให้เราสามารถสร้างกราฟเพื่อช่วยในการเปรียบเทียบข้อมูล  โดยเราสามารถเลือกชนิดของกราฟให้เหมาะสมกับข้อมูลของเรา  และการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ  ในกราฟให้ดูง่ายน่าสนใจ  รวมทั้งการสร้างแผนผังบุคลากร  ที่นำเสนอถึงทีมงาน  หรือผู้ร่วมงานในโครงการที่เรานำเสนอนั้น